ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทองคำประเภทต่างๆ

เกี่ยวกับทองคำ

ปัจจุบันด้วยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่ง “ทองคำ” ที่เป็นหลักประกันในการแลกเปลี่ยนเงินตราของหลายๆ ประเทศ แต่นอกจากเรื่องเงินตราแล้ว  “ทองคำ” ยังมีหลายแบบและถูกนำไปใช้ประโชยน์ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำ “เครื่องประดับ” นั้นเองครับ วันนี้เราจึงอยากขอพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ทองคำประเภทต่างๆ ” กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับ ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

4 ประเภทองคำที่น่าสนใจ

●ทองคำขาว มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Platinum มีความบริสุทธิ์เป็นหน่วยกะรัต เป็นโลหะเจือของทองคำและโลหะขาวอื่นๆ เช่น แพลเลเดียมหรือนิกเกิล คุณสมบัติของทองคำขาวจะขึ้นอยู่กับโลหะและสัดส่วนการใช้ โดยส่วนมากแล้วทองคำขาวจะถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน กำไร เนื่องจากทองคำขาวจะมีความคงทนถาวรมากกว่าทองธรรมดานั่นเอง

●ทองคำเขียว ลักษณะภายนอกที่ดูแล้วก็เหมือนทองธรรมดาทั่วๆไป หากมองด้วยตาเปล่าจะมองไม่เห็นถึงความที่เป็นสีเขียวตามชื่อของมัน เนื่องจากทองคำชนิดนี้ถือเป็นโลหะเจือที่สร้างโดยการดึงเอาทองแดงออกไป ให้เหลือไว้เพียงแค่ทองคำและเงิน จึงทำให้ดูออกเป็นสีเหลืองเขียวๆ ซะมากกว่า และโดยทั่วไปทองเขียว 18 กะรัต จะประกอบไปด้วยค่าทองคำ 75% เงิน 25% แต่วิธีทำทองคำเขียว มักจะถูกนำไปตกแต่งหรือดัดแปลงโดยใช้วิธีลงยาทองเป็นหลัก

●ทองเหลือง มักถูกนิยมนำไปทำเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับและทางศิลปะเท่านั้น เป็นทองที่ไม่มีผลต่อการซื้อขายในตลาดด้วยเช่นเดียวกับทองสัมฤทธิ์ เนื่องจากทองเหลืองจะทำมาจากโลหะที่ผสมระหว่างทองแดงและสังกะสีนั่นเอง

●ทองคำสีกุหลาบ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นาก เป็นโลหะเจือระหว่างทองคำและทองแดง โดยส่วนมากแล้ว นาก จะถูกนิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับและยังเคยเป็นที่นิยมกันมากในรัสเซีย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง มีดังต่อไปนี้

1. ราคาทองต่างประเทศ (Gold spot) เป็นราคาอ้างอิงทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยังไม่ได้มีการบวก หรือลบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในการส่งมอบทองคำ เป็นการซื้อขายทองคำที่ไม่มีการส่งมอบ เช่นเดียวกับราคาทอง 1 กรัม

2. อัตราค่า Premium (ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้า/ส่งออกทองคำ)  ก็คือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อที่นำเข้า หรือส่งออกทองคำ รวมถึงค่าขนส่ง ค่าความเสี่ยง ดอกเบี้ยธนาคาร ค่าประกันภัยต่างๆ ซึ่งถูกกำหนดมาโดยผู้ค้าทองในต่างประเทศ

3. ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินบาทในการคำนวณราคาทองในประเทศ จะใช้อัตราการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกัน Gold spot และมีการใช้ราคาในฝั่ง Bid (ราคารับซื้อ) และ Ask (ราคาขายออก) เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นทอง 1 กรัม หรือไปจนถึง 10 บาท ก็ต้องเช็คราคากันดีๆ นะครับ

4. Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ “คณะกรรมการควบคุมราคาทอง” ของสมาคมฯ นอกจากจะพิจารณาราคา Gold Spot / ค่า Premium และค่าเงินบาท ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัย Demand/ Supply ภายในประเทศด้วยเป็นหลัก เพื่อที่จะตัดสินใจประกาศราคาทองคำภายในประเทศ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทองคำประเภทต่างๆ” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันไม่มากก็น้อยกันนะครับ สุดท้ายนี้ ขอให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับทองคำแบบต่างๆ กันได้มากขึ้นครับ

About the Author

You may also like these