อะไรคือความแตกต่างระหว่างการสั่งเองและฝากสั่งในการนำเข้าสินค้าจากจีน

นำเข้าสินค้าจากจีน

ในปัจจุบันรายได้ที่มาจากแค่เงินเดือนคงไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือเพียงพอใช้จ่าย แต่ก็คงไม่เหลือเก็บ รวมถึงเศรษฐกิจที่ทำให้ใครหลายๆคนถึงกับกุมขมับ ธุรกิจที่ได้รับความนิยมในช่วงนี้ก็เป็นการขายของออนไลน์ ที่สร้างรายได้ในช่วงกักตัวให้กับหลายๆ คน ซึ่งสินค้าที่จะขายก็คงหากันไม่ยาก แต่ก็มีคนที่สนใจจะทำการสั่งของจากจีนมาขาย ซึ่งหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าการสั่งของจากจีนนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ การสั่งสินค้าจีนด้วยตัวเอง และการฝากสั่งกับชิปปิ้ง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวิธีการสั่งสินค้าจากจีนทั้งสองแบบกันให้มากขึ้นกันเลย 

การสั่งสินค้าจีนด้วยตัวเอง

วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณสามารถสั่งซื้อได้เองโดยผ่านแอพพลิเคชั่น Taobao, Tmall, Alibaba และ Aliexpress ซึ่งจะต้องทำการสั่งซื้อและชำระเงินด้วยตัวเอง ผ่านช่องทางบริการต่าง ๆ เช่น Alipay หรือตัดผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น และสินค้าที่เหมาะกับการสั่งซื้อด้วยตัวเอง ควรจะเป็นสินค้าที่ไม่มีรายละเอียดเยอะ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดปัญหาในการสั่งซื้อสินค้าและติดต่อกับร้านค้าจีน วิธ๊นี้จะเหมาะกับคนที่สามารถคุยภาษาจีนได้พอสมควร หากว่ากิดปัญหา เช่น ไม่ได้รับของ สินค้าไม่ตรงปก หรือปัญหาใดใดก็ตาม คุณจะต้องทำการติดต่อกับทางร้านค้าจีน หรือเว็บไซต์จีนนั้น ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อทำการสั่งซื้อแล้วชำระเงินเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมขอที่อยู่ของชิปปิ้งที่จีน เพื่อนำมากรอกในระบบร้านค้าของเว็บ Taobao, Tmall หรือ 1688 เนื่องจากร้านค้าจีนจะไม่สามารถนำส่งสินค้ามาถึงไทยให้เราได้โดยตรงนั่นเอง ข้อดีของวิธีนี้คือ จะไม่มีค่าบรารฝากสั่ง จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนได้ แต่ข้อเสียหลักๆ คือคุณจะต้องสามารถสื่อสารกับร้านค้าจีนได้โดยตรง ทั้งยังมีขั้นตอนในการสั่งซื้อค่อนข้างยุ่งยาก ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่เลย 

การฝากสั่งกับชิปปิ้ง 

เป็นการฝากคนกลางซื้อของจากจีนให้นั่นเอง ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้บริการฝากสั่งกับชิปปิ้งได้เลย เพราะมีอยู่หลาเจ้ามากๆ แต่วันนี้จะขอแบ่งบริหารชิปปิ้ง ดังนี้

  1. ฝากสั่งกับชิปปิ้ง ที่ไม่คิดค่าบริการฝากสั่ง แต่อาจจะมีค่าขนส่งที่เรทราคาสูงกว่าเจ้าอื่น ๆ หรือสูงกว่าค่าขนส่งปกติทั่วไป ซึ่งถ้าเพิ่งเริ่มต้นขายอาจจะง่ายต่อการสั่งซื้อและนำเข้า แต่ในระยะยาว เมื่อร้านเราโตขึ้นเราต้องสต็อกของเพิ่มขึ้นในจำนวนมาก การเลือกชิปปิ้งที่ไม่คิดค่าบริการฝากสั่งอาจจะกลายเป็นเพิ่มต้นทุนสินค้าในการขายของได้เช่นกัน
  2. คิดค่าบริการฝากสั่งจากยอดสั่งซื้อ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น สั่งซื้อสินค้า 1,000 บาท คิดค่าบริการฝากสั่ง 50 บาท เท่ากับเป็น 5% ของมูลค่าสินค้ารวมที่สั่งซื้อไป ซึ่งไม่รวมกับค่าขนส่งนำเข้า ฉะนั้น หากเราสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ค่าบริการฝากสั่งก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  3. ฝากสั่งกับชิปปิ้งที่มีค่าบริการฝากสั่งชัดเจน คือ ไม่ว่าจะสั่งซื้อสินค้าเท่าไรก็ตามจะคิดค่าบริการราคาเดียว เช่น จะสั่งซื้อ 1,000 5,000 หรือ 10,000 ก็คิดค่าบริการราคาแค่ 100 บาทไม่บวกเพิ่ม แต่ก็ต้องดูอีกว่าค่าขนส่งจะถูกหรือแพง

ข้อดีหลักๆ ของการฝากสั่งกับชิปปิ้งคือ จะมีบริการสั่งซื้อ ชำระเงินและประสานงานกับร้านค้าจีนให้ โดยลูกค้าไม่ต้องยุ่งยากในขั้นตอนเหล่านี้เลย เพียงแค่มีสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ และเข้าไปใช้งานในระบบเว็บของชิปปิ้งนั้น ๆ ก็สามารถนำเข้าสินค้าจีนได้ง่ายๆ เป็นวิธีการที่เหมาะกับมือใหม่มากๆ เลย แต่มีข้อเสียคืออาจจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของบริการขนส่งเพิ่มเติมนั่นเอง

สรุปได้ว่าข้อแตกต่างของบริการทั้งสองอย่างก็คือวิธีการนั่นเอง การเลือกซื้อด้วยตนเองหมายความว่าคุณจะต้องมีทักษะในการสื่อสารภาษาจีนค่อนข้างดีพอสมควร และจะต้องจัดการเรื่องของการนำเข้าด้วยตนเอง แต่ถ้าฝากสั่งกับชิปปิ้ง ก็จะมีวิธีการที่น้อยกว่า แต่จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง ใครสนใจแบบไหนก็สามารถเลือกไปใช้ได้เลย 

About the Author

You may also like these